วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ย้อนอดีตเมืองสงขลา

                                                            เก้าห้อง ถนนนางงาม
               เก้าห้องเป็นชื่อดั้งเดิมขิงถนนนนางงามซึ่งตั้งมาตั้งแต่ปี2385ครั้งตั้งหลักเมืองสงขลาใหม่หลังย้ายสงขลาจากฝั่งแหลมสนมายังฝั่งตะวันออก(บ่อยาง)ที่ได้ชื่อเก้าห้องเนื่องจากถนนสายนี้มีบานอยู่9คูหาและได้เปลี่ยนชื่อจากถนนเก้าห้องมาเป็นถนนนางามสงขลาสาเหตุเพราะหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี2475ได้มีการประกวดนางงามสงขลาขึ้นเป็นครั้งแรกปรากฏว่าสาวงามจากถนนนางงามชื่อ นงเยาว์ (แดง) โพธิสาร สกุลเดิม บุญยศิวะ ลูกนายฮ่อง นางหั้ว  บุญยศิวะ ได้รับคัดเลือกให้เป็นนางงามสงขลาคนแรก สมรสกับครูถ้องหรือครูสหัส โพธิสาร และต่อมาคนสงขลาเรียกถนนเก้าห้องว่า ถนนนางงาม  ติดปากมากกว่าเก้าห้องมาจนบัดนี้และคุณหญิง กมลทิพญ์สุดลาภาภริยา คุณเชาวัศน์   สุดลาภา ก็เป็นอดีตนางงามสงขลาอีกคนหนึ่งทีมีภูมิลำเนาอยู่ที่ถนนนางงามหรือย่านเก้าห้อง
ถนนนางงามเป็นที่ตั้งของศาลหลักเมืองสงขลาซึ่งสร้างขึ้นเมื่อปีพ..2385ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่3และพระยาวิเชียรคีรี(บุญสังข์)เป็นผู้สำเร็จราชการเมือง ถนนสายนี้เป็นย่านที่อยู่อาศัยของคนจีนเก่าแก่นานเกือบ300ปี ควคู่กับถนนนครนอก นครใน จึงมีสถาปัตยกรรม อารยธรรม และวัฒนธรรม  อาหารการกิน  ขอชาวจีนเกาแก่ที่มีชิอเสียง รสชาติดี หลากหลายอย่าง อาทิ

                ศาลหลักเมืองสร้างขึ้นเมื่อปี พ..2385ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่3และพระยาวิเชียรคีรี(บุญสังข์)เป็นผู้สำเร็จราชการเมือง
                                                                       วัดมัชฌิมาวาส

          วัดมัชฌิมาวาส หรือวัดกลาง อยู่ที่ถนนไทรบุรี อำเภอเมืองสงขลา เป็นวัดใหญ่และสำคัญที่สุดในจังหวัดสงขลา อายุ 400 ปี สร้างตอนปลายอยุธยา เดิมเรียกว่าวัดยายศรีจันทร์ กล่าวกันว่ายายศรีจันทร์ คหบดีผู้มั่งคั่งในเมืองสงขลาได้อุทิศเงินสร้างขึ้น ต่อมามีผู้สร้างวัดเลียบ ทางทิศเหนือ และวัดโพธิ์ ทางทิศใต้ ชาวสงขลาจึงเรียกวัดยายศรีจันทร์ว่า "วัดกลาง" และได้เปลี่ยนชื่อเป็น "วัดมัชฌิมาวาส" โดยพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นวชิรญาณวโรรสคราวเสด็จเมืองสงขลาเมื่อ พ.ศ. 2431 ในวัดมีโบราณสถานที่น่าสนใจหลายแห่ง อาทิ พระอุโบสถ สร้างสมัยรัชกาลที่ 1 เป็นศิลปะประยุกต์ไทย-จีน ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังที่ยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ เช่น ภาพท่าเรือสงขลาที่หัวเขาแดงที่มีการค้าขายกันคึกคัก ซุ้มประตู เป็นศิลปะจีนกับยุโรป และมีพิพิธภัณฑ์ "ภัทรศิลป" เป็นที่เก็บพระพุทธรูป วัตถุโบราณ ซึ่งรวบรวมมาจากเมืองสงขลา สทิงพระ ระโนด ซึ่งเป็นหลักฐานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ควรค่าแก่การศึกษา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น